การรับรองหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรภาครัฐเพื่อเตรียมความพร้อมในการปรับเปลี่ยนไปสู่องค์กรดิจิทัล
โครงการศึกษาและจัดทำกรอบแนวทางการรับรองมาตรฐานหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ เพื่อเตรียมความพร้อมในการปรับเปลี่ยนไปสู่องค์กรดิจิทัล
หลักการและเหตุผล
คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2560 มีมติเห็นชอบแนวทางการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ภาครัฐมีกำลังคนที่มีทักษะด้านดิจิทัลที่เหมาะสมที่จะเป็นกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญในการปรับเปลี่ยนภาครัฐเป็นรัฐบาลดิจิทัล และให้ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐสามารถปรับตัวให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี มีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานตามบทบาทและพฤติกรรมที่คาดหวังในบริบทของการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล และสามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แนวทางดังกล่าวครอบคลุมการดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2561 – 2565 และครอบคลุมข้าราชการพลเรือนสามัญและผู้ปฏิบัติงานในกระทรวง กรม และเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐ ข้าราชการฝ่ายพลเรือน ตลอดจนข้าราชการและบุคลากรภาครัฐทั้งหมด ต่อมา คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รับผิดชอบรับรองกรอบหลักสูตรผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐและผู้ช่วยผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ รวมทั้งติดตาม ประเมินผล และให้คำแนะนำการปรับปรุงและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมกับบริบทและกลุ่มเป้าหมายการพัฒนา รวมทั้งสร้างชุมชนเครือข่ายผู้บริหารเทคโนโลยีสาสรสนเทศระดับสูงภาครัฐ (GCIO Community) เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จึงได้ดำเนินโครงการศึกษาและจัดทำกรอบแนวทางในการรับรองมาตรฐานหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรภาครัฐเพื่อเตรียมความพร้อมในการปรับเปลี่ยนไปสู่องค์กรดิจิทัลขึ้น เพื่อให้ได้หลักสูตรการพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลที่มีคุณภาพสอดคล้องกับกรอบทักษะด้านดิจิทัลฯ สามารถนำไปใช้ในการฝึกอบรม ข้าราชการ และบุคลากรขององค์กรภาครัฐ เป็นการเตรียมความพร้อมบุคลากรภาครัฐ ในการพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้มีความรู้ความสามารถ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัล
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาแนวทางการรับรอง หลักสูตร และการจัดการศึกษา (สถานที่ เครื่องมือ สื่อการสอน ผู้สอน) เพื่อพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัลของต่างประเทศ
2. เพื่อจัดทำกรอบแนวคิดในการรับรอง หลักสูตร และการจัดการศึกษา (สถานที่ เครื่องมือ สื่อการสอน ผู้สอน) เพื่อพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล เพื่อจัดทำแนวทางปฏิบัติ หลักเกณฑ์ กลไก และวิธีการประเมินผล สำหรับการรับรอง หลักสูตร และการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล
แนวทางการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ

แนวปฏิบัติในการยื่นขอรับรองหลักสูตรฯ

ขั้นตอนในการยื่นเอกสารหลักสูตรเพื่อขอรับการประเมินเพื่อรับรองหลักสูตรฯ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. สถาบันอบรมที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด* ซึ่งต้องการยื่นขอรับรองหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ จัดทำเอกสารตามรูปแบบที่กำหนด (แบบฟอร์มที่ ONDE-CA-001, ONDE-CA-002)
2. สถาบันอบรมทำการ “ทดลองสอน” ตามหลักสูตรที่ออกแบบตามข้อที่ 1)
3. สถาบันอบรมจัดทำการประเมินตนเองและประเมินการอบรม โดยใช้เอกสารตามรูปแบบที่กำหนด (แบบฟอร์ม ONDE-CA-003, ONDE-CA-004, ONDE-CA-005, ONDE-CA-006)
4. สถาบันอบรม ยื่นเอกสารขอรับรองหลักสูตรฯ โดยใช้เอกสารตามรูปแบบที่กำหนด (แบบฟอร์ม ONDE-CA-001, ONDE-CA-002, ONDE-CA-003, ONDE-CA-004, ONDE-CA-005, ONDE-CA-006) เพื่อขอรับการตรวจประเมิน
5. ทำการตรวจประเมินหลักสูตรและการจัดการอบรม โดยอาจจัดให้มีการตรวจเยี่ยมสถานที่อบรมจริง (Site Visit) เพื่อการประเมินคุณภาพของสภาพแวดล้อมการอบรม
6. หลังจากที่ผ่านการตรวจสอบเอกสารหลักสูตรฯ รายงานการประเมินตนเอง และเอกสารหลักฐานต่าง ๆ โดยผู้ประเมินแล้ว จะมีการรับรองหลักสูตร โดยจะเป็น “การรับรองว่าเนื้อหาหลักสูตรและการจัดการศึกษามีมาตรฐาน”
7. สถาบันอบรมที่ได้รับการรับรอง ต้องควบคุมคุณภาพการจัดการศึกษาให้เป็นไปตามเกณฑ์การจัดการศึกษาที่ สดช. ระบุ และสอดคล้องกับหลักสูตรที่ได้รับการรับรองแล้ว โดยต้องทำรายงานการประเมินตนเองและติดตามผลลัพธ์การอบรมของผู้เข้ารับการอบรม โดยสถาบันอบรมต้องส่งรายงานการจัดอบรมรายครั้ง ภายใน 30 วันหลังการอบรมทุกรอบและสรุปรายงานผลการจัดอบรมรายปี โดยมีเอกสารประกอบรายงาน ดังต่อไปนี้
- เอกสารประกอบการสอน
- วิธีการประเมิน เช่น ข้อสอบ หรือ งานที่มอบหมาย
- ผลการประเมินผู้เข้ารับการอบรม
- ผลการประเมินผู้สอน
- แบบฟอร์มตามเอกสารแนบ เลขที่ ONDE-CA-003 ถึง 006 (สำหรับรายงานผลการจัดอบรมรายครั้ง)
- แบบฟอร์มตามเอกสารแนบ เลขที่ ONDE-CA-007 (สำหรับรายงานผลการจัดอบรมรายปี)
ทั้งนี้ สถาบันอบรมควรมีมาตรการในการติดตามผลลัพธ์การอบรมอย่างต่อเนื่อง (เช่น การโทรสอบถามข้อมูลผู้เข้ารับการอบรม หรือ การสร้าง Social Community เป็นต้น) เพื่อให้ทราบถึงผลลัพธ์ที่ได้จากการอบรม (Outcome) ผ่านการพัฒนาของผู้เข้ารับการอบรมหลังจากผ่านการอบรม เช่น ความก้าวหน้าในสายงาน โครงการดิจิทัลที่ริเริ่มหรือเข้าร่วม ผลงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอบรม เป็นต้น
8. หลักสูตรที่ได้รับการรับรองจะมีอายุ 3 ปี นับจากวันที่มีการประกาศรับการรับรอง (ตัวอย่างดังเอกสารแนบ ONDE-CA-008 ร่าง ประกาศฯ) หลังจากครบอายุการรับรอง สถาบันอบรมต้องดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรให้มีความทันสมัยและยื่นขอการรับรองอีกครั้ง สถาบันอบรมต้องบริหารการอบรมให้มีคุณภาพ โดยหากตรวจสอบแล้วพบว่าการดำเนินการไม่มีคุณภาพ มีสิทธิ์ถอนการรับรอง
หมายเหตุ
* คุณสมบัติของสถาบันอบรมฯ ที่สามารถจัดอบรมได้
1. สถาบันอุดมศึกษาในสังกัดของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือกระทรวงศึกษาธิการ และกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหาร ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและกำลังคนอาชีวศึกษา "รายชื่อสถานศึกษาประเภทอาชีวศึกษารัฐบาล สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ปีการศึกษา 2559" ของสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา **
2. หน่วยงานของรัฐที่มีพันธกิจในการจัดอบรม หรือให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการอบรม เช่น สถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล (Thailand Digital Government Academy หรือ TDGA) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (Office of Public sector Development commission : OPD) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (National Science and Technology Development Agency : NSTDA) เป็นต้น
3. สถาบันอบรมเอกชนที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ
4. สถาบันที่ได้รับความเห็นชอบโดยสถาบันหรือหน่วยงานที่มีอำนาจตามฎหมาย
ข้อมูลอ้างอิง :
** https://www.mhesi.go.th/home/index.php/service/2-uncategorised/1398-univerlinkkk
http://www.vec.go.th/Portals/0/428-%2059.xlsx
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาแนวทางการรับรอง หลักสูตร และการจัดการศึกษา (สถานที่ เครื่องมือ สื่อการสอน ผู้สอน) เพื่อพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัลของต่างประเทศ
2. เพื่อจัดทำกรอบแนวคิดในการรับรอง หลักสูตร และการจัดการศึกษา (สถานที่ เครื่องมือ สื่อการสอน ผู้สอน) เพื่อพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล เพื่อจัดทำแนวทางปฏิบัติ หลักเกณฑ์ กลไก และวิธีการประเมินผล สำหรับการรับรอง หลักสูตร และการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล
แนวทางการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ
แนวปฏิบัติในการยื่นขอรับรองหลักสูตรฯ
ขั้นตอนในการยื่นเอกสารหลักสูตรเพื่อขอรับการประเมินเพื่อรับรองหลักสูตรฯ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. สถาบันอบรมที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด* ซึ่งต้องการยื่นขอรับรองหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ จัดทำเอกสารตามรูปแบบที่กำหนด (แบบฟอร์มที่ ONDE-CA-001, ONDE-CA-002)
2. สถาบันอบรมทำการ “ทดลองสอน” ตามหลักสูตรที่ออกแบบตามข้อที่ 1)
3. สถาบันอบรมจัดทำการประเมินตนเองและประเมินการอบรม โดยใช้เอกสารตามรูปแบบที่กำหนด (แบบฟอร์ม ONDE-CA-003, ONDE-CA-004, ONDE-CA-005, ONDE-CA-006)
4. สถาบันอบรม ยื่นเอกสารขอรับรองหลักสูตรฯ โดยใช้เอกสารตามรูปแบบที่กำหนด (แบบฟอร์ม ONDE-CA-001, ONDE-CA-002, ONDE-CA-003, ONDE-CA-004, ONDE-CA-005, ONDE-CA-006) เพื่อขอรับการตรวจประเมิน
5. ทำการตรวจประเมินหลักสูตรและการจัดการอบรม โดยอาจจัดให้มีการตรวจเยี่ยมสถานที่อบรมจริง (Site Visit) เพื่อการประเมินคุณภาพของสภาพแวดล้อมการอบรม
6. หลังจากที่ผ่านการตรวจสอบเอกสารหลักสูตรฯ รายงานการประเมินตนเอง และเอกสารหลักฐานต่าง ๆ โดยผู้ประเมินแล้ว จะมีการรับรองหลักสูตร โดยจะเป็น “การรับรองว่าเนื้อหาหลักสูตรและการจัดการศึกษามีมาตรฐาน”
7. สถาบันอบรมที่ได้รับการรับรอง ต้องควบคุมคุณภาพการจัดการศึกษาให้เป็นไปตามเกณฑ์การจัดการศึกษาที่ สดช. ระบุ และสอดคล้องกับหลักสูตรที่ได้รับการรับรองแล้ว โดยต้องทำรายงานการประเมินตนเองและติดตามผลลัพธ์การอบรมของผู้เข้ารับการอบรม โดยสถาบันอบรมต้องส่งรายงานการจัดอบรมรายครั้ง ภายใน 30 วันหลังการอบรมทุกรอบและสรุปรายงานผลการจัดอบรมรายปี โดยมีเอกสารประกอบรายงาน ดังต่อไปนี้
- เอกสารประกอบการสอน
- วิธีการประเมิน เช่น ข้อสอบ หรือ งานที่มอบหมาย
- ผลการประเมินผู้เข้ารับการอบรม
- ผลการประเมินผู้สอน
- แบบฟอร์มตามเอกสารแนบ เลขที่ ONDE-CA-003 ถึง 006 (สำหรับรายงานผลการจัดอบรมรายครั้ง)
- แบบฟอร์มตามเอกสารแนบ เลขที่ ONDE-CA-007 (สำหรับรายงานผลการจัดอบรมรายปี)
ทั้งนี้ สถาบันอบรมควรมีมาตรการในการติดตามผลลัพธ์การอบรมอย่างต่อเนื่อง (เช่น การโทรสอบถามข้อมูลผู้เข้ารับการอบรม หรือ การสร้าง Social Community เป็นต้น) เพื่อให้ทราบถึงผลลัพธ์ที่ได้จากการอบรม (Outcome) ผ่านการพัฒนาของผู้เข้ารับการอบรมหลังจากผ่านการอบรม เช่น ความก้าวหน้าในสายงาน โครงการดิจิทัลที่ริเริ่มหรือเข้าร่วม ผลงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอบรม เป็นต้น
8. หลักสูตรที่ได้รับการรับรองจะมีอายุ 3 ปี นับจากวันที่มีการประกาศรับการรับรอง (ตัวอย่างดังเอกสารแนบ ONDE-CA-008 ร่าง ประกาศฯ) หลังจากครบอายุการรับรอง สถาบันอบรมต้องดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรให้มีความทันสมัยและยื่นขอการรับรองอีกครั้ง สถาบันอบรมต้องบริหารการอบรมให้มีคุณภาพ โดยหากตรวจสอบแล้วพบว่าการดำเนินการไม่มีคุณภาพ มีสิทธิ์ถอนการรับรอง
หมายเหตุ
* คุณสมบัติของสถาบันอบรมฯ ที่สามารถจัดอบรมได้
1. สถาบันอุดมศึกษาในสังกัดของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือกระทรวงศึกษาธิการ และกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหาร ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและกำลังคนอาชีวศึกษา "รายชื่อสถานศึกษาประเภทอาชีวศึกษารัฐบาล สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ปีการศึกษา 2559" ของสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา **
2. หน่วยงานของรัฐที่มีพันธกิจในการจัดอบรม หรือให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการอบรม เช่น สถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล (Thailand Digital Government Academy หรือ TDGA) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (Office of Public sector Development commission : OPD) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (National Science and Technology Development Agency : NSTDA) เป็นต้น
3. สถาบันอบรมเอกชนที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ
4. สถาบันที่ได้รับความเห็นชอบโดยสถาบันหรือหน่วยงานที่มีอำนาจตามฎหมาย
ข้อมูลอ้างอิง :
** https://www.mhesi.go.th/home/index.php/service/2-uncategorised/1398-univerlinkkk
http://www.vec.go.th/Portals/0/428-%2059.xlsx